ค่าเสียหายส่วนแรก : Deductible vs. Excess
เจ้าของรถส่วนใหญ่มักสับสนกับคำว่า “ค่าเสียหายส่วนแรก” ที่มี 2 ความหมาย คือ ค่า deductible กับค่า ค่า excess ใช่ไหมคะ
ค่า excess = ค่าเสียหายส่วนแรก “ภาคบังคับ”
ค่า deductible = ค่าเสียหายส่วนแรก “ภาคสมัครใจ”
.
ค่า DEDUCTIBLE คือค่าใช้จ่ายที่คุณยอมเสีย “แบบสมัครใจ” ทุกครั้งที่มีการเคลมในอุบัติเหตุ “ที่คุณเป็นฝ่ายผิด”
.
ถ้าคุณยินดีจ่ายค่า deductible คุณก็จะประหยัดค่าประกันรถไปได้ตามจำนวนค่า deductible ที่คุณระบุไว้
เช่น เบี้ยประกัน 10,000 บาท คุณระบุว่า คุณสมัครใจจ่ายค่า deductible 2,000 บาททุกครั้งที่มีการเคลมโดยที่คุณเป็นฝ่ายผิด คุณก็จะประหยัดค่าประกันไปได้เลย 2,000 บาท ทำให้เสียค่าเบี้ยประกันแค่ 10,000 – 2,000 = 8,000 บาท
.
ค่า EXCESS คือค่าเสียหายส่วนแรกที่เกิดจากเคลมนอกเงื่อนไข
.
👉กรณีไหนเสียหรือไม่เสียค่า excess บ้าง
เอาละ ตอนนี้คุณรู้แล้วว่าค่า excess คืออะไร มีไว้ทำไม มาดูกันเลยว่ากรณีไหนเข้าข่ายเสียหรือไม่เสียค่า excess
.
❌ กรณีที่ไม่เสียค่า excess
- ชนรถคันอื่น & บาดแผลสอดคล้อง และบอกรายละเอียดคู่กรณีได้
- ชน “อะไรก็ตามที่ไม่ใช่รถ” จนทำให้อุปกรณ์หรือตัวรถ “บุบ แตก ร้าว” บาดแผลต้องสอดคล้องและต้องบอกลักษณะการเกิดเหตุได้
- ชนคน/สัตว์ บาดแผลสอดคล้องและบอกลักษณะการเกิดเหตุได้
- ชนวัตถุที่ยึดแน่นกับพื้นดิน โดยบาดแผลสอดคล้องกับวัตถุที่ชน และบอกลักษณะการเกิดเหตุได้ โดยวัตถุที่ยึดแน่นกับพื้นดิน เช่น กำแพง , เสา ,ประตู ,ป้ายจราจร, กำแพง, ขอบถนน, ราวสะพาน ต้นไม้ยืนต้น กองดิน หน้าผา
- รถพลิกคว่ำ
.
✅ กรณีเสียค่า excess
- ชนรถคันอื่น แต่บอกรายละเอียดคู่กรณีไม่ได้
- ชน “อะไรก็ตามที่ไม่ใช่รถ” แต่รถหรืออุปกรณ์ไม่บุบ แตก ร้าว
- รถถูกขีดข่วน
- หินหรือวัตถุกระเด็นใส่
- เฉี่ยวกิ่งไม้ ลวดหนาม สายไฟฟ้า
- รถครูดกับพื้นถนน , ตกหลุม
- รถเหยียบตะปู, ของมีคม , ยางฉีก
- รถถูกสัตว์กัดแทะ
- รถไถลตกข้างทาง แต่ไม่พลิกคว่ำ
.
👉 ค่า excess เก็บอย่างไร
ค่า excess เรียกเก็บครั้งละ 1,000 บาทต่อ “เหตุการณ์” เช่น ถ้าคุณโชคร้าย ก้อนหินตกใส่รถและล้อรถเหยียบตะปูในคราวเดียวกัน นับเป็น 2 เหตุการณ์ (เหตุการณ์ที่ 1 ก้อนหินตกใส่, เหตุการณ์ที่ 2 รถเหยียบตะปู) คุณต้องเสียค่า excess 1,000 x 2 = 2,000 บาท
ข้อมูลเพิ่มเติม 👇👇
ความคิดเห็นล่าสุด